4 ขั้นตอนการตั้งค่าพื้นฐาน MikroTik

MikroTik สามารถตั้งค่าได้หลากหลายด้วยตัวเอง โดยผู้ดูแลระบบต้องทำการ “ออกแบบ” ระบบก่อน” ว่าจะใช้งานในรูปแบบใด ตัวอย่างเช่น รับ Internet ขา WAN แบบ PPPoE และปล่อยให้เครื่องลูกในวง LAN แบบ Hotspot หรือ รับ Internet ขา WAN แบบ FixIP (Static IP) และในวง LAN แบบ DHCP เป็นต้น

การตั้งค่าพื้นฐาน MikroTik มี 4 ขั้นตอนหลักมีดังนี้

1. WAN คือการรับ Internet ขาเข้าโดยสามารถรับได้หลายรูปแบบดังนี้
    1.1 PPPoE Client – การเชื่อมต่อแบบนี้จะทำได้ต้องมีการตั้งค่า Modem หรือ ONU เป็น Bridge แล้วใส่ Username, Password ที่ได้รับจากผู้ให้บริการ (ISP) ตอนสมัครใช้งานหากไม่ทราบสามารถติดต่อผู้ให้บริการเพื่อขอ Reset ใหม่ได้
    1.2 Static IP – ในกรณีนี้เราอาจเรียกวิธีการนี้ว่า FixIP ก็ได้โดยเราจะได้รับ IP, Subnet, Gateway, DNS(ถ้ามี) จากผู้ให้บริการ (ISP) หลังจากติดตั้ง วิธีนี้ต้องทำ Bridge ที่ Modem หรือ ONU เช่นกัน แต่เราจะได้ IP นั้นตลอด (ก็แน่ล่ะ เราขอFixIPไปนี่..)
    1.3 DHCP Client – การรับ Internet ด้วยวิธีนี้สามารถทำได้ง่ายเพียงต่อจาก DHCP Server อาจใช้ได้หลายกรณีเช่น ต้องการนำ Internet มาบริหารจัดการต่อหรืออาจจะต่อจาก Loadbalance ก็เป็นได้….
    1.4 Wireless – เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เราใช้งาน Internet ได้หากไม่มีสาย LAN หรือไม่สามารถเดินสายได้ โดยเอา Wireless บนอุปกรณ์ MikroTik ไปเชื่อมต่อสัญญาณเข้ากับ Access Point ที่ให้บริการอยู่โดยตัวเราเองจะอยู่ในรูปแบบของ Station
    1.5 3G/4G Module – หากเราเข้าไปในพื้นที่ ที่ไม่มีสามารถเดินสายหรือปล่อยสัญญาณ Wireless ได้ การใช้ 3G/4G มาช่วยก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก ตัวอย่างเช่น บนรถประจำทาง เรือข้ามฟาก เป็นต้น แต่ต้องใช้กับรุ่นที่รองรับ USBหรือมี Moduleรองรับเท่านั้น

2. LAN คือการตั้งค่าระบบภายในให้กับเครื่องลูกข่ายมีหลายรูปแบบดังนี้
    2.1  Static IP
    2.2 DHCP Server
    2.3 Hotspot Server
    2.4 PPPoE Server

3.NAT หรือ Network Address Translation ทำหน้าที่แปลง IP ภายใน(LAN)ให้ออกสู่Internetได้ (จะมองเห็นเป็น IP WAN)

4.DNS หรือ Domain Name System ทำหน้าที่แปลงชื่อ Host ตัวอย่างเช่น www.jbac.ac.th ไปเป็น IP Server แล้วเรียกไปยังปลายทาง หาก Server ล่ม ระบบจะทำการ Update IP ใหม่ ซึ่งผู้ใช้งานก็เรียกเว็บเดิมทำให้ง่ายต่อการจดจำและเรียกใช้

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ความรู้เกี่ยวกับไมโครติก คั่นหน้า ลิงก์ถาวร