4 ขั้นตอนการตั้งค่าพื้นฐาน MikroTik

MikroTik สามารถตั้งค่าได้หลากหลายด้วยตัวเอง โดยผู้ดูแลระบบต้องทำการ “ออกแบบ” ระบบก่อน” ว่าจะใช้งานในรูปแบบใด ตัวอย่างเช่น รับ Internet ขา WAN แบบ PPPoE และปล่อยให้เครื่องลูกในวง LAN แบบ Hotspot หรือ รับ Internet ขา WAN แบบ FixIP (Static IP) และในวง LAN แบบ DHCP เป็นต้น

การตั้งค่าพื้นฐาน MikroTik มี 4 ขั้นตอนหลักมีดังนี้

1. WAN คือการรับ Internet ขาเข้าโดยสามารถรับได้หลายรูปแบบดังนี้
    1.1 PPPoE Client – การเชื่อมต่อแบบนี้จะทำได้ต้องมีการตั้งค่า Modem หรือ ONU เป็น Bridge แล้วใส่ Username, Password ที่ได้รับจากผู้ให้บริการ (ISP) ตอนสมัครใช้งานหากไม่ทราบสามารถติดต่อผู้ให้บริการเพื่อขอ Reset ใหม่ได้
    1.2 Static IP – ในกรณีนี้เราอาจเรียกวิธีการนี้ว่า FixIP ก็ได้โดยเราจะได้รับ IP, Subnet, Gateway, DNS(ถ้ามี) จากผู้ให้บริการ (ISP) หลังจากติดตั้ง วิธีนี้ต้องทำ Bridge ที่ Modem หรือ ONU เช่นกัน แต่เราจะได้ IP นั้นตลอด (ก็แน่ล่ะ เราขอFixIPไปนี่..)
    1.3 DHCP Client – การรับ Internet ด้วยวิธีนี้สามารถทำได้ง่ายเพียงต่อจาก DHCP Server อาจใช้ได้หลายกรณีเช่น ต้องการนำ Internet มาบริหารจัดการต่อหรืออาจจะต่อจาก Loadbalance ก็เป็นได้….
    1.4 Wireless – เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เราใช้งาน Internet ได้หากไม่มีสาย LAN หรือไม่สามารถเดินสายได้ โดยเอา Wireless บนอุปกรณ์ MikroTik ไปเชื่อมต่อสัญญาณเข้ากับ Access Point ที่ให้บริการอยู่โดยตัวเราเองจะอยู่ในรูปแบบของ Station
    1.5 3G/4G Module – หากเราเข้าไปในพื้นที่ ที่ไม่มีสามารถเดินสายหรือปล่อยสัญญาณ Wireless ได้ การใช้ 3G/4G มาช่วยก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก ตัวอย่างเช่น บนรถประจำทาง เรือข้ามฟาก เป็นต้น แต่ต้องใช้กับรุ่นที่รองรับ USBหรือมี Moduleรองรับเท่านั้น

2. LAN คือการตั้งค่าระบบภายในให้กับเครื่องลูกข่ายมีหลายรูปแบบดังนี้
    2.1  Static IP
    2.2 DHCP Server
    2.3 Hotspot Server
    2.4 PPPoE Server

3.NAT หรือ Network Address Translation ทำหน้าที่แปลง IP ภายใน(LAN)ให้ออกสู่Internetได้ (จะมองเห็นเป็น IP WAN)

4.DNS หรือ Domain Name System ทำหน้าที่แปลงชื่อ Host ตัวอย่างเช่น www.jbac.ac.th ไปเป็น IP Server แล้วเรียกไปยังปลายทาง หาก Server ล่ม ระบบจะทำการ Update IP ใหม่ ซึ่งผู้ใช้งานก็เรียกเว็บเดิมทำให้ง่ายต่อการจดจำและเรียกใช้

โพสท์ใน ความรู้เกี่ยวกับไมโครติก | ปิดความเห็น บน 4 ขั้นตอนการตั้งค่าพื้นฐาน MikroTik

RouterOS and RouterBoard

RouterOS เป็น software router หรือ ระบบปฎิบัติการสำหรับ router ซึ่งตัว RouterOS สามารถติดตั้งลงบนเครื่อง PC ธรรมดาๆ ได้ด้วย โดยที่เราสามารถติดตั้งลงไปตรงๆได้เลย ไม่ต้องติดตั้งระบบปฎิบัติใดๆก่อน มันจะทำให้ PC ของเรากลายร่างไปเป็น router โดยอัตโนมัติ

RouterBoard เป็น network hardware หรือ อุปกรณ์ network หรือเรียกง่ายๆ มันก็คือ router นั้นแหละครับ โดย RouterBoard ทุกตัวจะถูกติดตั้ง RouterOS มาจากโรงงานไว้แล้ว ทำให้สามารถเอา RouterBoard ไปใช้งานได้เลย

ซึ่งในปัจจุบัน มีการใช้งานอยู่ทั่วโลก บางประเทศมีการใช้มากกว่า 60,000 อุปกรณ์ภายในปีเดียว นั้นเป็นเครื่องพิสูจน์แล้ว ว่าเป็นที่ยอมรับของบริษัททั่วโลกที่นำสินค้า Router ของบริษัทนี้มาใช้ หรือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำได้แถบทุกอย่างที่อุปกรณ์เราว์เตอร์ชั้นนำของโลก แต่ถ้าเปรียบเทียบด้านราคากับคุณภาพที่ได้ จึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่น่าสนใจ

โพสท์ใน ความรู้เกี่ยวกับไมโครติก | ปิดความเห็น บน RouterOS and RouterBoard

Mikrotik คืออะไร

Mikrotik คืออะไร Mikrotik มาจากภาษา Latvia ประเทศ Latvia เป็นประเทศเล็กๆ อยู่ทางยุโรปตะวันออก ซึ่ง Mikrotik เกิดจากการผสมคำสองคำ ระหว่าง Mikro(Micro)+Tik(Network) หรือถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษแปลว่าเครือข่ายขนาดเล็ก แต่จริงๆ แล้วปัจจุบันไม่เล็กเลยนะครับ คงคล้ายๆ กับ คำว่า Micro+Soft มั้งครับ บริษัท Mikrotik ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1996 และในปี 1997 ได้ถือกำเนิด RouterOS ขึ้นและใช้งานกันต่อมาจนถึงปี 2002 Mikrotik ได้ผลิต Router ขึ้นเป็นของตัวเองโดยมีชื่อเรียกว่า RouterBoard ปัจจุบัน บริษัท Mikrotik ตั้งอยู่ที่ เมือง Riga เมืองหลวงของประเทศ Latvia มีพนักงานมากกว่า 140 คน

โพสท์ใน ความรู้เกี่ยวกับไมโครติก | ปิดความเห็น บน Mikrotik คืออะไร